วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

Ep.5 มารยาทในการกินเเละดื่มด้วยมืขวา



การกินและดื่มด้วยมือขวา

เป็นส่วนหนึ่งของมารยาทในการกินเเละดื่มตามศาสนาอิสลามที่จะต้องเริ่มด้วยมือขวา เพราะการกินเเละดื่มด้วยมือซ้ายเป็นวิถีทางของชัยตอนมารร้าย ดังนั้นเราทุกคนควรที่จะส่งเสริมเเละปลูกฝังให้กับเด็กเเละเยาวชนที่อาจจะไม่รู้ในเรื่องนี้ ให้นำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَأْكُلْ بِيَمِينِهِ وَإِذَا شَرِبَ فَلْيَشْرَبْ بِيَمِينِهِ فَإِنَّ الشَّيْطَانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ».

ความว่า : เมื่อผู้ใดในพวกท่านจะกินก็จงกินด้วยมือขวา และเมื่อจะดื่มก็จงดื่มด้วยมือขวา เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนนั้นจะกินด้วยมือซ้ายและจะดื่มด้วยมือซ้าย (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2020)




Ep.4 จงอย่าสิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮ(ซ.บ.)


"อัลลอฮ์ทรงไม่มีวันเบื่อในการให้อภัยโทษ"
มีคนเดินไปหาท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)
แล้วก็ถามว่า : โอ้ท่านรอซู้ล ถ้าฉันได้ทำบาปมันจะถูกบันทึกไหม?
ท่านนบีฯตอบว่า : ถูกบันทึก
เขาก็ถามอีก : ถ้าฉันเตาบัต(กลับตัว)ล่ะ?
ท่านนบีฯก็ตอบว่า : มันก็ถูกลบล้าง
เขาก็ถามอีก : ถ้าฉันลงมือทำอีกล่ะ?
ทานนบีฯก็ตอบว่า : ก็ถูกบันทึกอีก
เขาก็ถามอีก : ถ้าฉันเตาบัตล่ะ?
ท่านนบีฯตอบว่า : ก็ถูกลบอีก
เขาก็ถามอีก : ถ้าฉันทำอีกล่ะ?
ท่านนบีฯตอบว่า : ก็ถูกบันทึกอีก
เขาก็ถามอีก : แล้วถ้าฉันเตาบัตอีกล่ะ?
ท่านนบีฯก็ตอบว่า : ก็ถูกลบอีก
เขาก็ถามอีก : มันจะถูกลบอีกกี่ครั้ง?
ท่านนบีฯก็ตอบว่า : แท้จริงแล้ว อัลลอฮ์ไม่มีวันเบื่อในการให้อภัยโทษ จนกระทั่ง ตัวเราเองที่จะเบื่อขออภัยโทษต่อพระองค์ 
เครดิต อูลุล อัลบ๊าบ

Ep.3 ในชีวิตของเราหนีไม่พ้นความอดทนซึ่งเราต้องอดทนบนพื้นฐาน 3 อย่าง





ในชีวิตของเราหนีไม่พ้นความอดทนซึ่งเราต้องอดทนบนพื้นฐาน 3 อย่างคือ
1." สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติ "
ส่วนใหญ่คือสิ่งที่นัฟซูไม่ชอบเราจึงต้องอดทนในการปฏิบัติ
2. " สิ่งที่จำเป็นต้องละทิ้ง "
ส่วนใหญ่นัฟซูเราโปรดปราน เราจึงต้องอดทนที่จะละทิ้ง
3. " บททดสอบที่ลำบากยากเข็ญซึ่งเราต้องประสบ "
เราจึงต้องอดทนในการเผชิญหน้ากับมัน
"อัลลอฮฺจึงให้มนุษย์ขอดุอาร์ให้มีความอดทน"
- จากการสอนกีตาบตัฟซีรนูรุลเอียะห์ซาน
โดยบาบออิสมาเเอลสปันญัง-
เครดิต ต่วนกูรู บาบอ อิสมาแอล สปันญัง
Cr. Fb. บทความดีๆอิสลามสอนคุณ

Ep.2 ความประเสริฐของผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน


 ความประเสริฐของผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน

อิสลามนั้นส่งเสริมให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามพึงกระทำเเละปฏิบัติในเรื่องของการกล่าวทักทายหรือการให้สลามเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของมุสลิมทุกๆคนเเละในการให้สลามนั้นยังมีความประเสริฐอีกมากมายซ่อนอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือความประเสริฐของการให้สลามก่อนนั่นเอง

มีรายงานจากอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

لاَ يَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَ أَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثِ لَيَالٍ يَلْتَقِيَانِ فَيُعْرِضُ هَذَا وَيُعْرِضُ هَذَا، وَخَيْرُهُمَا الَّذِى يَبْدَأُ بِالسَّلاَمِ


ความว่า “ไม่อนุมัติให้มุสลิมตัดสัมพันธ์กับพี่น้องของเขาเกินกว่าสามคืน ซึ่งสองคนนั้นเจอกันแล้วต่างคนต่างหนีหน้า และผู้ที่ประเสริฐกว่าในสองคนนั้นคือผู้ที่เริ่มให้สลามก่อน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6077, มุสลิม : 2560 สำนวนนี้เป็นของท่าน) 

Ep.1 การทักทายในอิสลาม (การให้สลาม)




การทักทายของตามศาสนาอิสลาม

การทักทายของอิสลามหรือการให้สลาม เพราะการให้สลาม หรือรับสลามเป็นการขอดุอาอฺ (การวิงวอน)


"อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ"


แปลว่า

"ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน"

ผู้ได้ยิน จะต้องรับว่า

" วะอะลัยกุมุสลาม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ "

แปลว่า

"ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่านเช่นกัน"

ซึ่งถ้ามีมุสลิมผู้ใด กล่าวสลาม แล้วจำเป็น(วาญิบ) ที่มุสลิมที่ได้ยินนั้น ต้องรับสลาม


 - ท่านนบีมูฮัมมัด ศอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ระบุว่าหากกล่าว "อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ" เช่นนี้ผู้กล่าวได้ 30 ผลบุญ


- แต่ถ้าให้สลามโดยกล่าวว่า "อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะมะตุลลอฮฺ" ท่านนบีระบุว่าคนกล่าวได้ 20 ผลบุญ


- และส่วนบุคคลใดกล่าว "อัสสลามุอะลัยกุม" เขาจะได้ 10 ผลบุญ


- "วัสสลามมุอะลัยกุม" ก็มักจะใช้เมื่อเราจะจากกัน


- และเมื่อมีผู้ฝากสล่ามมาถึง หมายถึงบุคคลที่ 1 ฝากสล่าม ไปถึงบุคคลที่ 3 โดยฝากไปกับบุคคลที่ 2 ต้องตอบรับว่า "วะอะลัยกะ อะลัยฮิสสลาม "


หมายความว่า "ขอความสันติ ความเมตตาจงมีแด่ผู้ให้(ฝากมา) และผู้นำ(ผู้รับฝาก)มาเช่นกัน "


ถ้ามีผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเข้ามากล่าวสล่าม ให้นั้น ต้องบอกเขาว่า ไม่สามารถกระทำได้ แม้ว่าจะเป็นการหวังให้เขาได้รับความรู้สึกดีๆ  เพราะการให้สล่ามและการรับสล่ามนั้นเป็นการขอดุอา (วิงวอน)

ต่อพระเจ้า (อัลลอฮฺ ซุบบะฮานะฮูวะตะอาลา) ของผู้ที่นับถืออิสลาม

จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :


  أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم : أَىُّ الإِسْلاَمِ خَيْرٌ؟، قَالَ:
« تُطْعِمُ الطَّعَامَ، وَتَقْرَأُ السَّلاَمَ عَلَى مَنْ عَرَفْتَ وَمَنْ لَمْ تَعْرِفْ »

 ความว่า มีชายผู้หนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า(บทบัญญัติของ)อิสลามข้อไหนดีที่สุด?ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า“คือการที่ท่านให้อาหารแก่ผู้อื่นและการที่ท่านให้สลามแก่ผู้ที่ท่านรู้จักและผู้ที่ท่านไม่รู้จัก”(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์:12 สำนวนรายงานเป็นของท่าน,มุสลิม:39)